เตือนต้องระวัง ! โดนแมลงตัวเล็กๆ กัดหรือต่อย อย่าคิดว่าไม่เป็นอะไร อาจถึงชีวิตได้ !!!

เตือนต้องระวัง ! โดนแมลงตัวเล็กๆ กัดหรือต่อย อย่าคิดว่าไม่เป็นอะไร อาจถึงชีวิตได้ !!!

แมลงในกลุ่มนี้ มีทั้งสามารถต่อยได้และต่อยไม่ได้ พวกที่สามารถต่อย และกัดได้ จะมีพิษทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน รวมทั้งอาจเกิดอาการรุนแรง ถึงขั้นช็อค (anaphylactic shock) ได้ ซึ่งสามารถแบ่งแมลงในกลุ่มนี้ออกได้หลายชนิด ดังนี้

ซึ่งอยู่ตรงด้านหลังของปีกคู่หน้า บางชนิดหรือบางเพศไม่มีปีก ด้านหน้าของส่วนท้องที่ต่อเชื่อมกับส่วนอก มีลักษณะคอดกิ่ว ส่วนท้องปล้องสุดท้าย เปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะที่ใช้ต่อยเรียกว่า เหล็กไน (sting)

ผึ้ง ต่อ หรือ แตน

พิษของผึ้ง ต่อ แตน มีหลายประเภท เมื่อได้รับพิษของแมลงเหล่านี้แล้วจะทำให้เกิดอาการแสดงต่างๆ แต่สามารถแยกได้เป็น 2 ลักษณะ
 
1. อาการเฉพาะที่ ได้แก่ ปวด บวม แดง ร้อน หรือเป็นผื่นแพ้ ลมพิษตรงบริเวณที่ถูกต่อย ในคนที่ได้รับสารฮีสตามีน (Histamine) บ่อยๆ พิษจะไปกระตุ้นการหลั่งฮีสตามีนจากเนื้อเยื่อ ทำให้บริเวณที่ถูกต่อยเกิดรอยไหม้ได้ ในกรณีที่ถูกต่อยใกล้คอ จมูก หรือ ตา อาจมีอาการมากกว่าปกติได้

2. พิษที่ไปตามกระแสโลหิต ทำให้เกิดอาการทั่วร่างกาย เช่น มีอาการคัน ลมพิษ หลอดเลือดบวม หายใจขัด เป็นลม ความดันโลหิตต่ำ และปวดท้อง เป็นต้น

หนอนบุ้ง หรือ หนอนร่าน

หนอนบุ้งเป็นตัวอ่อนของผีเสื้อซึ่งอยู่ใน Order Lepidoptera โดยบุ้งหลายชนิดจะมีขนอยู่บริเวณลำตัว ขนที่ทำให้เกิดอาการแพ้เรียกว่า urticating hairs

หนอนบุ้งมีอยู่หลายชนิด แต่ชนิดที่พบบ่อยในประเทศไทย เช่น หนอนผีเสื้อกลางคืน (Gypsy moth) เมื่อสัมผัสถูกขนพิษของหนอนบุ้ง จะทำให้เกิดอาการแสบร้อนทันทีเนื่องจากในขนพิษ มีสารพิษที่ทำให้เกิดผื่นแพ้ขึ้นที่ผิวหนัง จากนั้นจะบวม ชา เป็นผื่นลมพิษ

พิษจะกระจายไปบริเวณข้างเคียง ทำให้เกิดการอักเสบ บวม เช่น ที่ต่อมน้ำเหลือง อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ชา เป็นอัมพาต และช็อคได้ อาการจะเป็นมากในผู้ที่มีประวัติแพ้ ในกรณีขนพิษเข้าไปในลูกตาอาจทำให้ตาบอดได้

การรักษาอาการพิษของแมลงใน Order Lepidoptera(หนอนบุ้ง หนอนร่าน)
การรักษาอาการพิษจากขนพิษของหนอนผีเสื้อ ทำได้โดยการดึงเอาขนพิษออกด้วยเทปกาว ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกพิษ ทาด้วยครีม corticosteriods

ด้วง

ด้วงเป็นแมลงกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งพบได้ทั่วโลกทั้งในแถบร้อน และแถบอบอุ่น ด้วงมีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ลำตัวอ่อนนิ่ม แต่มีปีกที่แข็งแรงหุ้มส่วนหลัง ซึ่งเป็นปีกคู่แรก เวลาเกาะพักจะมาชนกันเป็นเส้นตรงกลางลำตัว ปีกคู่หลังเป็นเยื่อบางพับเก็บอยู่ใต้ปีกคู่หน้า

ด้วงน้ำมัน

ด้วงน้ำมัน มีชื่อพื้นบ้านว่า ด้วงโสน ด้วงไฟเดือนห้า (Mylabris spp.,Epicauta spp.) มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ รูปร่างยาว หัวงุ้ม คอเล็ก ส่วนอกปล้องแรก แคบกว่าความกว้างของส่วนหัวหรือปีก มีสารพิษประเภท cantharidin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท เมื่อสัมผัสโดนจะทำ

ด้วงก้นกระดก

ด้วงก้นกระดกมีชื่อพื้นบ้านว่า ด้วงก้นงอน (Paederus fuscipes) เป็นด้วงขนาดเล็ก ประมาณ 1 ซม. ลำตัวเรียวยาวปีกสั้น ไม่คลุมส่วนท้อง ด้วงก้นกระดกมีสารพิษประเภท Paederin ซึ่งเมื่อสารพิษชนิดนี้ถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง แสบคันเป็นตุ่มน้ำใส และเป็นแผลเป็นเมื่อแผลหายแล้ว บางครั้งตัวด้วงอาจบินเข้าไปในลูกตาทำให้เกิดอาการระคายเคืองของเยื่อบุตาขาวได้

แมลงตด

แมลงตดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pherosophus siamensis เป็นแมลงขนาดใหญ่ปีกสีเหลืองซีด มีแถบสีดำบนปีก แมลงตดจะปล่อยสารประเภทอ๊อกไซด์ของไนโตรเจนออกมา เมื่อถูกผิวหนังทำให้ไหม้พอง คล้ายกับถูกกรดไนตริก

การรักษาอาการพิษของแมลง

ทำได้โดยการล้างแผลให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ ปิดแผลไว้จนกว่าตุ่มแผลจะแห้ง ใช้ยาปฏิชีวนะหรือครีมทา กรณีที่ตุ่มแผลแตกให้ยาปฏิชีวนะ รับประทานและปิดแผลไว้ กรณีได้รับสาร cantharidinเกินขนาดจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ให้รักษาตามอาการโดยอาจจะให้ยาแก้อาเจียน หรือยาแก้ปวดตามอาการ ให้กินยาแก้แพ้ (antihistamine) ยาระงับปวด ในรายที่แพ้มากจนถึงขั้นช็อคให้รีบนำส่งโรงพยาบาล

http://www.naarn.com/4174/ 

0 comments:

Post a Comment

 

About